วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2556

รายงานวิชาเทคโนโลยีเว็บ 2 เรื่อง Product ของ Google Google News

Google News
ด้วยแรงกระตุ้น จากการสนใจข่าวสารบ้านเมืองในวงกว้างหลังเกิดเหตุวินาศกรรมเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2544 ที่มหานครนิวยอร์ก เราได้ลงทุนเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้คนสามารถค้นหา และติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวรอบๆ ตัวพวกเขา Google News ถือเป็นแหล่งรวมข่าวสารแห่งใหม่ ที่รวบรวมลิงก์ข่าวในแบบเรียลไทม์ มีการจัดประเภทบทความ และจัดลำดับความนิยมจากความคิดเห็น ของบรรณาธิการสื่อสิ่งพิมพ์ทั่วโลก มีการเชื่อมโยงไปยังชุดของแหล่งข้อมูลที่หลากหลายสำหรับเรื่องใดก็ตาม เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าถึงมุมมองและประเภทเนื้อหาที่แตกต่างกัน รวมทั้งการนำเสนอและลงมุมมองหรือทัศนะที่ตรงข้ามกันไว้ในที่เดียวกัน ก็เป็นการส่งเสริมให้ผู้ใช้งานได้รับรู้ข้อโต้แย้งของทั้งสองฝ่ายในเรื่องหนึ่งๆ และได้รับมุมมองที่สมดุลมากขึ้น
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา Google News มีการพัฒนาและปรับปรุงถึง 72 รุ่น ใน 30 ภาษา และขณะนี้เรามีแหล่งข่าวมากถึง 50,000 แห่ง เทคโนโลยีนี้จะทำงานโดยระบบค้นหาข่าวของ Google ซึ่งเชื่อมโยงผู้ใช้ที่มีลักษณะเฉพาะกว่า 1,000 ล้านรายต่อสัปดาห์ไปยังเนื้อหาของข่าว 
มามองย้อนกลับไปในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาของ Google News ผ่านเรื่องราวที่เป็นสุดยอดของแต่ละปี รวมทั้งฟีเจอร์ที่โดดเด่นบางอย่างที่ได้เปิดตัวในระหว่างนั้น
ด้วยโอกาสมากมาย และเราก็รู้สึกตื่นเต้นมากที่จะนำ Google News มาใช้ในทศวรรษถัดไป ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ สิ่งหนึ่งที่ยังคงไม่เปลี่ยนไป คือภารกิจของเราในการนำเสนอข่าวสารเพื่อให้คุณได้รับข่าวสารที่ต้องการจากแหล่งข่าวที่มีความหลากหลาย

  • ติดตามความคืบหน้าของข่าวต่างๆ
  • จับตาความเคลื่อนไหวของคู่แข่งหรือธุรกิจ
  • รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับคนดังหรือกิจกรรมต่างๆ
  • ติดตามข่าวคราวทีมกีฬาที่คุณชื่นชอบ
  • สามารถนำข่าวสารที่ได้เป็นความรู้ในการใช้ชีวิตประจำวัน
  • รับทราบข่าวสารต่างๆ ได้รวดเร็วและแม่นยำ
คุณลักษณะ
Google News คือเว็บไซต์ข่าวที่จัดทำขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ โดยการรวบรวมหัวข้อข่าวจากแหล่งข่าวภาษาไทยหลายแห่งทั่วโลก นำข่าวที่มีเนื้อหาประเภทเดียวมาไว้ในหมวดเดียวกันและแสดงไว้ตามความสนใจใน แบบที่ผู้อ่านแต่ละคนกำหนด
ที่ผ่านมานั้น ผู้อ่านข่าวจะต้องเลือกสื่อสิ่งพิมพ์ก่อน จากนั้นจึงมองหาหัวข้อข่าวที่ตนสนใจ แต่เราทำสิ่งที่แตกต่าง โดยมีเป้าหมายคือการให้ผู้อ่านมีตัวเลือกได้ในแบบของคุณ และเพิ่มโอกาสให้คุณเลือกได้กว้างกว่า และหลากหลายกว่าเติม ใน Google News จะมีลิงก์ไปยังทุกบทความเกี่ยวกับทุกเรื่องราว คุณจึงสามารถตัดสินใจได้ก่อนว่า คุณสนใจหัวข้อใด แล้วจึงเลือกสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีหัวข้อที่ต้องการอ่าน คลิกข่าวพาดหัวที่คุณสนใจ คุณจะตรงไปที่เว็บไซต์ที่เผยแพร่ข่าวนั้นทันที
บทความของเราได้รับการคัดเลือกและจัดอันดับโดยคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำหน้าที่ประเมินจากจำนวนครั้งและเว็บไซต์ที่ข่าวนั้นออนไลน์พร้อมทั้งพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ผลลัพธ์ที่ได้คือ ข่าวจะถูกจัดเรียงโดยไม่คำนึงถึงทัศนคติหรือแนวความคิดทางการเมือง คุณจึงสามารถเลือกอ่านข่าวได้กว้างและหลากหลายกว่า เรายังคงปรับปรุงและพัฒนา Google News โดยการเพิ่มแหล่งข่าว ปรับแต่งเทคโนโลยี และให้บริการ Google News แก่ผู้อ่านใน ภูมิภาคต่างๆมากยิ่งขึ้น



Google News เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 22 กันยายน ปี 2545 - หรือกว่าทศวรรษที่ผ่านมา 
ตามที่เราได้ปรับเปลี่ยนการบริการให้เป็นสากลมากขึ้น เราได้ทำการเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ (อาทิ ข่าวท้องถิ่น - (Local News) ข่าวจากการตั้งค่าส่วนตัวของคุณ (Personalization) ข่าวที่ได้รับการคัดเลือกจากบรรณาธิการ (Editors’ Picks) ข่าวเด่น (Sporlight) นักเขียน (Authorship) การแสดงความคิดเห็นทางสังคมออนไลน์ (Social Discussions) เราค่อยๆ พัฒนาการออกแบบ นำมาใช้บนโทรศัพท์มือถือ และใช้การทดสอบอุปกรณ์ (Fast Flip, Living Stories, Timeline) นอกจากนี้เรายังได้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพ และท้าทายวิศวกรของเราให้ปรับเทคโนโลยี under the hood เพิ่มความสดใหม่ จัดกลุ่มข่าวให้ดีขึ้น จัดลำดับข่าวให้มีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น ปรับแต่งด้วยข้อมูลเชิงลึกและเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานให้มากขึ้น
เราปฏิเสธไม่ได้ว่ารูปแบบข่าวออนไลน์เปลี่ยนไปอย่างมหาศาล สมาร์ทโฟน และโซเชียล เน็ตเวิร์ก ได้เปลี่ยนวิธีการเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสาร และขยับความสัมพันธ์ระหว่างผู้อ่านและผู้เขียนให้เข้าใกล้กันมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังถูกรวมเข้ามาเป็นมาตรฐานในการนำเสนอข่าว และเป็นการรวมมนุษย์กับเครื่องจักรให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศน์ด้วยกัน เทคโนโลยีใหม่ อาทิเช่น การใช้งาน Google Hangouts ที่ช่วยเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้ นักข่าว ผู้ริเริ่มความคิด และเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสื่อสารระหว่างกัน

ข่าวที่กำหนดเอง: ไม่มีใครสามารถอ่านข่าวที่เผยแพร่ทั้งหมดของทุกๆ วันได้ แล้วทำไมเราไม่ตั้งค่าให้เว็บเพจแสดงเฉพาะข่าวที่เราสนใจมากที่สุด? 
ข่าวในมือถือของคุณ: ถ้าโทรศัพท์มือถือของคุณสามารถใช้บริการรับข้อมูลข่าวสารได้ คุณจะสามารถเข้าถึง Google News เวอร์ชันพิเศษจากโทรศัพท์มือถือ 
Feeds: คุณสามารถรับข่าวอัพเดตในหัวข้อต่างๆ จาก Google News หรือจากผลการค้นหาของ Google News ได้ โดยการสมัครใช้งาน RSS หรือ Atom Feed ไว้เป็น Feed Reader ที่คุณชื่นชอบ
การค้นหาข่าวที่เก็บไว้: ค้นหาและสำรวจข้อมูลจากข่าวที่เก็บไว้ย้อนหลังกว่า 200 ปี 

วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556

6-social-media

งานที่ 6 เรื่อง Social Media
ความหมายของ Social Media


         สำหรับในยุคนี้ เราคงจะหลีกเลี่ยงหรือหนีคำว่า Social Media ไปไม่ได้ เพราะไม่ว่าจะไปที่ไหน ก็จะพบเห็นมันอยู่ตลอดเวลา ซึ่งหลายๆ คนก็อาจจะยังสงสัยว่า “Social Media” มันคืออะไรกันแน่ วันนี้เราจะมารู้จักความหมายของมันกันครับ
คำว่า “Social” หมายถึง สังคม ซึ่งในที่นี้จะหมายถึงสังคมออนไลน์ ซึ่งมีขนาดใหม่มากในปัจจุบัน
คำว่า “Media” หมายถึง สื่อ ซึ่งก็คือ เนื้อหา เรื่องราว บทความ วีดีโอ เพลง รูปภาพ เป็นต้น
ดังนั้นคำว่า Social Media จึงหมายถึง สื่อสังคมออนไลน์ที่มีการตอบสนองทางสังคมได้หลายทิศทาง โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต พูดง่ายๆ ก็คือเว็บไซต์ที่บุคคลบนโลกนี้สามารถมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันได้นั่นเอง
พื้นฐานการเกิด Social Media ก็มาจากความต้องการของมนุษย์หรือคนเราที่ต้องการติดต่อสื่อสารหรือมีปฏิสัมพันธ์กัน จากเดิมเรามีเว็บในยุค 1.0 ซึ่งก็คือเว็บที่แสดงเนื้อหาอย่างเดียว บุคคลแต่ละคนไม่สามารถติดต่อหรือโต้ตอบกันได้ แต่เมื่อเทคโนโลยีเว็บพัฒนาเข้าสู่ยุค 2.0 ก็มีการพัฒนาเว็บไซต์ที่เรียกว่า web application ซึ่งก็คือเว็บไซต์มีแอพลิเคชันหรือโปรแกรมต่างๆ ที่มีการโต้ตอบกับผู้ใช้งานมากขึ้น ผู้ใช้งานแต่ละคนสามารถโต้ตอบกันได้ผ่านหน้าเว็บ
         Social Media คือสื่อยุคใหม่ที่กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกวงการทั้งชีวิตประจำวัน และการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นสื่อที่นิยมใช้สื่อสารการตลาดเพื่อการโปรโมท และทำกิจกรรมการตลาดออนไลน์ในหลาย ๆ รูปแบบ แต่สำหรับการนำ social media มาใช้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการภายในธุรกิจยังเป็นสิ่งมีข้ัอจำกัดและอาจจะเป็นสิ่งที่ต้องห้ามอยู่ หลายองค์กรในภาครัฐและเอกชนก็ไม่อนุญาตให้พนักงานใช้ social media ในการทำงาน บางหน่วยงานก็บล็อกเว็บไซต์ประเภท social network ต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้พนักงานเล่นในเวลาทำงาน เช่น facebook, youtube,bit torrent ฯลฯ ด้วยเหตุผลหลัก ๆ ทางด้าน productivity ในการทำงาน , ความปลอดภัย , การแย่งสัญญาณอินเตอร์เน็ต ฯลฯ บางทีมีการแซวกันขำๆ ว่าหน้าที่ของหัวหน้าที่เพิ่มขึ้นมาอย่างหนึ่งก็คือ เข้าไปตรวจดูในเฟซบุคเพื่อที่จะจับผิดลูกน้องว่ามีใครออนไลน์อยู่บ้างในเวลาทำงาน
แต่บางองค์กรก็ให้ความสำคัญกับการใช้ social media เป็นอย่างมาก มีการสนับสนุนให้จัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงเรื่อง social media ขององค์กรเลยทีเดียว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการลูกค้า และการบริหารความสัมพันธ์ของลูกค้า ส่วนการนำ social media มาประยุกต์ใช้ในการทำงานภายในอย่างเป็นกิจลักษณะนั้น ก็เห็นจะมีแต่องค์กรชั้นนำเท่านั้นที่มีการออกนโยบายที่เกี่ยวข้องและมีระบบการควบคุมดูแลเป็นอย่างดี เพื่อให้พนักงานสามารถใช้ social network ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่บางองค์กรก็พยายามจะหาวิธีการนำ social media มาใช้ให้เกิดประโยชน์ แต่ก็ยังไม่มีไอเดียว่าจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับการทำงานอย่างเป็นรูปธรรมได้

o แบ่งได้เป็นกี่ประเภท
มี 6 ประเภทครับ
(1) Blog
(2) Twitter
และ Microblog อื่นๆ 
(3) Social Networking 
(4) Media Sharing 
(5) Social News and Bookmarking 
(6) Online Forums

o ยกตัวอย่างมา 1 เว็บที่น่าสนใจ อธิบายถึงข้อดีข้อเสีย (รูปภาพประกอบ)

Hi5.com เป็นเวบไซต์ที่ให้ผู้ใช้บริการมาฝาก profile ของตัวเอง คล้ายๆกับ blog เนี่ยแหละ แต่ว่าคนไม่ค่อยไปเขียนอะไรเป็นเรื่องเป็นราวในนั้นซะเท่าไหร่ จะเน้นที่ตกแต่งหน้าตา profile เราให้สวยงาม ดึงดูดคนมาเข้า แต่จุดเด่นของมันอยู่ที่ ระบบ network ที่เรามีโอกาสได้ทำความรู้จักกับคนใหม่ๆ หรือบังเอิญเจอเพื่อนเก่าสมัยมัธยมเมื่อหลายสิบปีก่อน หรือเพื่อนของเพื่อน กิ้กเก่า แฟนเก่า .. แต่อีกหลายคนก็สมัครไปงั้นๆไม่ได้อะไรมากเพราะได้รับอีเมลชวนมาเล่น hi5 จากเพื่อน 


สำหรับหลายคนที่รู้จักและใช้บริการอยู่คงจะไม่ต้องอธิบายกันมาก เพราะคงรู้จุดประสงค์และการใช้งานดีอยู่แล้ว แต่หลายๆคนยังไม่ทราบว่าเจ้า hi5 นี่ใช้งานยังไง มีทำไม และเพื่อประโยชน์อะไร
ข้อดี
1. มีโอกาสได้เพื่อนใหม่ๆและ keep connect กับเพื่อนเก่าๆ ที่บางคนอาจจะเลือนหายไปกับความทรงจำ (แต่พอส่ง msg คุยกันก็ไม่รู้จะคุยไร เพราะมันห่างกันมานาน เฮ้อ)
2. การเก็บรักษาความส่วนตัว ก็ใช้ได้ระดับหนึ่ง คือ ยังไงๆถ้าเราไม่บอก ไม่ว่าใครก็ไม่รู้อีเมลเรา แต่ถ้าอยากให้รู้ก็เขียนบอกไปเลยก็ได้ หรืออยากรู้ msn ใครก็แมสเสจไปหาเขาตรงๆ
3. วิธีการสมัครง่าย และวิธีการทำ hi5 ให้สวยงามก็ง่าย
4. ข้อดีก็เหมือน blog ทั่วไปๆแหละเพียงแต่คนเล่นนิยม เพราะมันดูทันสมัยและใช้งานง่าย
ข้อเสีย
1. ช่วงนี้มีการพัฒนาเวบ อาจจะล่มบางครั้ง
2. ใส่ลูกเล่นหรือปรับแต่งอะไรได้ไม่ค่อยเยอะ มันจะมี pattern อยู่แล้ว ก็จะปรับได้ส่วนของแบคกราวน์ สี font ตัวอักษร ใส่เพลง vdoclip ….
3. ไม่มีประโยชน์เท่าบล้อก เพราะคนเข้ามาดูรูปส่วนใหญ่
o การประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา
ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทุกคนสามารถเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตได้ง่าย ประกอบกับจำนวนผู้ใช้งานที่มีเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ทุกคนมีอิสระที่จะเข้าไปแบ่งปันความรู้ และเลือกเครื่องมือที่ดีที่สุด เพื่อนำไปเผยแพร่ความรู้ที่ตัวเองต้องการสื่อสาร และเสนอความคิดใหม่ๆ ได้โดยไม่ถูกปิดกั้น นับเป็น ยุค 2.0 ที่ครูต้องตระหนักกับการเปลี่ยนถ่ายของข้อมูล(Content) จากข้อมูลที่คงที่ (Static Content) เข้าสู่ยุคของข้อมูลที่มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา (Dynamic Content) แนวคิดการนำ Social Media มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนนับเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำลังให้การส่งเสริม และสนับสนุนให้เกิดเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน เพราะปัจจุบัน Social Media ได้ กลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างสื่อให้เกิดเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงกันในโลกออนไลน์ ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถใช้เป็นช่องทางในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างง่ายและสะดวกรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดการศึกษาเป็นอย่างมาก โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อลิขสิทธิ์แต่อย่างใด
ดังนั้นการนำเทคโนโลยี Social Media มาใช้เป็นเครื่องมือสื่อและแหล่งเรียนรู้เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน เป็นการผลักดันให้ครูก้าวทันโลกยุคปัจจุบัน และสามารถเข้าถึงเยาวชนยุคใหม่ได้อย่างทันท่วงที ซึ่งจะทำให้เกิดระบบ “ชุมชนแห่งการเรียนรู้” บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
อะไรคือ Social Media
คุณครูรู้จัก Social Media หรือไม่??? จริงๆ แล้วทุกคนน่าจะรู้จัก และใช้อยู่แล้ว เพียงแต่ว่าอาจจะยังไม่เคยรู้ว่ามันเรียกว่า Social Media หรือแม้ลองถามนักเรียนว่ารู้จักหรือเปล่า นักเรียนก็คงบอกว่าไม่รู้จัก แต่ถ้าถามว่ารู้จักเว็บไซต์เหล่านี้หรือไม่ เช่น Hi5, Facebook, Twitter, YouTube ร้อยทั้งร้อยคงบอกว่ารู้จัก แถมบางคนอาจจะบอกว่ามี และเล่นแทบทุกวัน สิ่งเหล่านี้แหละครับคือ Social Media ซึ่งบางครั้งเรามองว่า มันเหมือนไม่มีประโยชน์ นักเรียนหรือครูเล่นก็เหมือนเสพติด เสียเวลาเรียน เวลาทำงาน แต่ของทุกอย่างมีทั้งด้านดี และไม่ดี ถ้าเรามองเห็น และนำด้านดีนั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ก็น่าจะเป็นเรืองดีที่ของที่เหมือนเล่นๆ ไม่เป็นประโยชน์จะช่วยให้นักเรียนของเราเกิดการเรียนรู้ได้ แม้ไม่ได้อยู่ในห้องเรียน ยังไม่มีศัพท์บัญญัติทีใช้ แทนคำว่า Social Media ในภาษา ไทย แต่มีการแปลอย่างตรงไปตรงมาว่า “สื่อสังคม” เป็นคำที่ใช้ในปัจจุบัน แต่ส่วนใหญ่ยังคงใช้ทับศัพท์ Social Media เป็นส่วนใหญ่
สื่อสังคม หรือ Social Media
เป็นสื่อที่ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการทางสังคม เน้นการโต้ตอบและมีปฏิสัมพันธ์ ระหว่างกันและกัน โดยอาศัยระบบอินเทอร์เน็ตในการเข้าถึง ซึ่งปัจจุบันมีใช้มากขึ้น คือเด็กๆ ของพวกเรา เอง ดังนั้นเราน่าจะให้เด็กของเราเข้าใช้ให้เกิดประโยชน์ หาหนทางทำให้สื่อสังคมนี้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ ของนักเรียน ซึ่งครูผู้สอนอย่างเราๆ ต้องเป็นตัวแปรสำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดการใช้ประโยชน์จากสื่อสังคม นอกจากนี้สื่อสังคมยังเป็นเครื่องมือที่ทำให้บุคคลทุกคนสามารถมีปากเสียงได้บนโลกออนไลน์
Social Media มีเครื่องมืออะไรบ้าง
ดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น เครื่องมือของสื่อสังคม (Social Media Tools) มีหลายชนิด ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ ซึ่งเครื่องมือส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องมือที่ใช้แบ่งปัน (Share) องค์ความรู้ ความคิดเห็น โดยที่เราไม่จำเป็นต้องสร้างสื่อขึ้นมาใหม่ เพราะมันมีอยู่ในบนโลกออนไลน์ เพียงแค่เรานำสิ่งที่มีอยู่แล้วนี้มาใช้ เมื่อเราค้นข้อมูลไปเรื่อยๆ ณ จุดหนึ่งจะพบว่า เรื่องบางเรืองไม่มีใครรู้ดีกว่าเราอีกแล้ว นั่นแหละถึงเวลาที่ต้อง Share ข้อมูลนั่นเสีย
มีเครื่องมืออะไรบ้างที่ ใช้ Share ข้อมูลได้…
สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน (สทร.) เป็นหน่วยงานสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้จัดการอบรมครูเพื่อเป็นแกนนำในการขับเคลื่อนการนำ Social Media มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ตามโครงการนำร่องการพัฒนาศักยภาพบุคลากร และส่งเสริมการใช้ Social Media ในการจัดการ เรียนรู้ เมื่อวันที่ 28 มีนาคม – 2 เมษายน 2553 โดยมีครูเข้าร่วมอบรมจำนวน 200 คน จากทั่วประเทศ ซึ่ง สทร. ได้เสนอเครื่องมือของสื่อสังคมเพื่อนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ ดังนี้
- WordPress.com เป็นเว็บล็อก หรือบล็อก สร้างเป็นบล็อกกลางสำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเป็นสื่อกลางในการแจ้งข่าวสาร
- Facebook.com ทำหน้าที่เป็นกระดานข่าว คล้ายๆ กับ hi5 ครูและนักเรียนสามารถสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ที่นี่เช่นกัน
- Twitter.com ใช้ในการสื่อสารข้อความสันๆ ไม่เกิน 140 ตัวอักษร ทำหน้าที่คล้าย SMS สามารถ โต้ตอบกันได้อย่างรวดเร็ว
- Slideshare.net ใช้ในการแบ่งบันสไลด์ ในกรณีทีคุณครูสร้างสไลด์เป็นสื่อในการจัดการเรียนการสอนสามารถนำไปฝากไว้ แล้วให้นักเรียนไปดาวน์โหลดมาชมหลังจากเรียนเสร็จแล้วก็ได้
- Flickr.com ใช้ ในการแบ่งปันไฟล์ภาพ
- Scribd.com ใช้ในการแบ่งปันไฟล์เอกสาร เช่น ใบความรู้ ใบงาน แบบฝึก
- youtube.com ใช้ ในการแบ่งปันไฟล์วีดีทัศน์ คุณครูสามารถเลือกใช้เครื่องมือเหล่านี้ได้ตามความเหมาะสม
จะนำ Social Media ไปใช้อย่างไร
ด้วยเครื่องมือที่หลากหลายในการใช้งาน คุณครูสามารถนำเครื่องมือเหล่านี้ไปใช้ได้ตามความเหมาะสม โดยไม่มีรูปแบบในการจัดกิจกรรมที่ตายตัว เลือกใช้ทุกเครื่องมือ หรือบางเครื่องมือก็ได้ในการจัดการเรียนรู้ อาจเข้าไปดูในเว็บไซต์กลางของ Social Media
ที่ สทร. สร้างไว้ที่ http://smeducation.wordpress.com/
ที่นี่จะเป็นที่รวบผลงานของครูแกนนำที่สร้างไว้ นอกจากนี้อาจจะเข้าไปชมผลงานของโรงเรียนดรุณสิกขาลัย ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในการใช้ Social Media ในการยกระดับการเรียน สทร. ไม่ได้กำหนดรูปแบบในการนำ Social Media ไปใช้ ให้ครูเป็นผู้ลองด้วยตนเอง ดังนั้นผู้เขียนเสนอแนวคิดในการนำ Social Media ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ดังนี้
1. ใช้ในฐานะแหล่งเรียนรู้ โดยครูอาจจะต้องเป็นนักสำรวจเลือกสื่อที่เหมาะสม และเป็นประโยชน์กับการเรียนรู้ของนักเรียน แล้วนำไปรวบรวมไว้ที่บล็อกกลางของครู และประชาสัมพันธ์ให้นักเรียนทราบที่ FaceBook ก็ได้ จากนั้นให้นักเรียนเข้าศึกษาด้วยตนเอง
2. ใช้ในฐานะสื่อการสอน โดยครูเลือกสื่อที่สามารถนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ และออกแบบการสอนโดยอาศัยสื่อเหล่านั้นประกอบ ตามความเหมาะสมของธรรมชาติวิชา
3. ใช้ในการสื่อสารกับนักเรียน อาจใช้เป็นช่องทางในการรับทราบปัญหาของนักเรียน เมื่อนักเรียนมีปัญหาอาจจะมาทิ้งข้อความไว้ ครูก็เข้าไปตอบปัญหาเหล่านั้นได้
4. ใช้เป็นช่องทางในการมอบหมายงานและส่งงาน
5. ใช้เป็นแหล่งพักสมองโดยได้ความรู้ เกมบางชนิดสร้างปัญญา แต่ต้องเลือกให้ดี
ในอดีตการเรียนการสอนจะยึดผู้สอนเป็นศูนย์กลาง โดยมีครูเป็นผู้บรรยายเนื้อหาบทเรียน และผู้เรียนมีหน้าที่เรียนรู้ตามที่ครูบอก จะไม่เน้นที่กระบวนการคิดให้เกิดกับผู้เรียน จึงทำให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ไม่เป็น ยุคต่อมาระบบการศึกษาเปลี่ยนไปเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ(Child center) โดยที่ครูมีบทบาทและนำแนวทางการเรียนในบทเรียน แต่วิธีนี้ก็ยังมีข้อบกพร่องที่ครูผู้สอน มักจะตีความหมายของการเรียนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญผิดๆ โดยให้ผู้เรียนหาวิธีการเรียนเอง ซึ่งผู้เรียนไม่ได้ถูกฝึกมาให้เกิดกระบวนการคิดตั้งแต่แรก ไม่สามารถเรียนรู้โดยวิธีนี้ได้ ดังนั้นถ้าครูไม่เป็นผู้แนะนำให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียน หรือชี้แนะแนวทางเลย ผู้เรียนก็จะไม่เกิดกระบวนการเรียนรู้ใดๆ ทั้งสิ้น
ปัจจุบันนี้วงการการศึกษามีจุดมุ่งหมายเน้นให้ผู้เรียนศึกษาหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่มี และมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน เทคโนโลยีจึงมีบทบาทที่สำคัญในการตอบสนองการเรียนรู้ของผู้เรียน หรืออีกนัยหนึ่งคือต้องการให้โรงเรียนทุกโรงจัดการศึกษาโดยนำเทคโนโลยีมาใช้กับการเรียนการสอนในทุกกลุ่มสาระ เรียกได้ว่าเป็นการบูรณาการวิชากับสื่อเลยก็ว่าได้ การศึกษาในยุคนี้จึงหนีไม่พ้นกับคำเปรียบที่ว่า “การศึกษายุคดิจิตอล”
นับตั้งแต่มีเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเข้ามา ดูเหมือนว่าวิถีชีวิตของผู้คนทั่วโลกจะถูกโยงให้ข้องเกี่ยวกับมันอย่าง เลี่ยงไม่ได้ เพราะนอกจากมันจะเป็นศูนย์รวมของข้อมูลข่าวสารที่ไม่มีขอบเขตจำกัดแล้ว อินเทอร์เน็ตยังเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้คนที่มี ประสิทธิภาพไม่น้อย จึงไม่แปลกที่ทุกวันนี้ อินเทอร์เน็ตจะกลายเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว
จะเห็นได้ว่า ในปัจจุบันนี้ Social Network หรือสังคมเครือข่ายออนไลน์ มีผู้นิยมใช้อย่างแพร่หลาย ไม่เฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น แต่ยังแพร่กระจายไปยังกลุ่มธุรกิจ กลุ่มนักเรียนนักศึกษา โดยในส่วนธุรกิจจะใช้ Social Network ในการประชาสัมพันธ์โฆษณาสินค้า ซึ่งสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้โดยตรง เพราะลูกค้าก็คือผู้ใช้งานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั่นเอง
ส่วนกลุ่มวัยรุ่น กลุ่มนักเรียนนักศึกษา จะใช้ Social Network ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน โดยความต้องการแล้ว คนกลุ่มนี้ต้องการความเป็นอิสระและความเป็นส่วนตัว นอกจากจะเป็นผู้ใช้แล้ว ยังสามารถเป็นผู้สร้างหรือดัดแปลงเทคโนโลยีได้ และเป็นการเปิดโอกาสทางความคิดของตนเอง และเผยแพร่ไปยังบุคคลอื่นได้ ซึ่ง Social Network สามารถตอบสนองความต้องการตรงนี้ได้ จึงมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ หรือเรื่องที่สนใจผ่านทาง Facebook, Skype หรือเกมส์ออนไลน์ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สามารถตอบสนองความต้องการได้เช่นกัน
ส่วนกลุ่มคนวัยทำงาน นักวิชาการ หรือองค์กรภาครัฐและเอกชน หรือแม้แต่ระบบราชการ เป็นกลุ่มที่นิยมใช้ Social Network ในการสืบค้นข้อมูลข่าวสาร และติดต่อสื่อสารมากกว่าการเข้าไปในรูปแบบอื่นๆ
 การประยุกต์ใช้ Social Network กับการจัดการเรียนการสอน
การตอบโจทย์การศึกษาในยุคดิจิตอล จึงต้องตอบสนองที่ความต้องการของผู้เรียน ต้องสร้างแหล่งเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต แต่การจัดตั้งแหล่งเรียนรู้จำเป็นต้องใช้งบประมาณมาก แต่ถ้าครูสามารถสร้างแหล่งเรียนรู้สำหรับให้ผู้เรียนศึกษาได้เองตลอดเวลาและประหยัดเงิน โดยการสร้างแหล่งเรียนรู้หรือบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ให้ผู้เรียนสามารถเข้ามาสืบค้น เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง จึงเป็นทางออกที่ดีสำหรับการจัดการเรียนการสอน การสร้างบทเรียนหรือเนื้อหาวิชาเรียน เป็นวิธีที่ทำได้ไม่ยาก เพียงแต่ครูผู้สอนและนักเรียนมีการใช้อินเทอร์เน็ตเท่านั้น โดยครูจะเป็นผู้ควบคุมดูแลระบบ สร้างบทเรียนเนื้อหาลงไปในเครือข่าย เช่น Facebook, Youtube แล้วให้ผู้เรียนเข้าไปเรียนตามเนื้อหาที่ครูเป็นผู้กำหนดไว้ นอกจากนี้ครูยังสามารถเช็คเวลาเรียนจากการเข้าใช้ระบบของนักเรียนได้ นอกจากผู้เรียนจะเข้ามาเรียนอย่างเดียวแล้ว เมื่อเกิดคำถามก็สามารถแสดงความคิดเห็นหรือตั้งคำถามไว้ให้ครูมาตอบได้ทันที ทำให้การเรียนการสอนมีความน่าสนใจและเรียนรู้ได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม